วู๊ดอินเลย์เทคนิคฝังไม้ศิลปะชั้นสูง

วู๊ดอินเลย์เทคนิคฝังไม้ศิลปะชั้นสูง

งานฝังไม้ ( Wood Inlay) เป็นงานศิลปะชั้นสูงของงานไม้ในแถบตะวันตก เข้ามาในประเทศไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 แต่งานฝังไม้เริ่มเป็นที่รู้จักในเมืองไทยเมื่อประมาณต้นรัชกาลที่ 2 โดยคนไทยรู้จักงานฝังไม้ในลักษณะของการนำไม้สองสีมาขัดกัน และเกิดเป็นลวดลาย โดยใช้แรงงานคน ในขณะที่ในยุโรป ได้มีการคิดค้นเครื่องจักร ขึ้นมา ทำให้พัฒนางานฝังไม้ไปได้ไกลกว่าชาติอื่นในโลก

ภาพติดผนังต้นไผ่ สัญลักษณ์ของจีน

สำหรับงานฝังไม้ฝีมือคนไทยที่จะนำเสนอในครั้งนี้ เป็นผลงานของ นางปิยะศรี สำเร็จรมย์ ในนามบริษัท Wood Inlay จำกัด ได้ทำผลิตภัณฑ์ฝังไม้ Wood Inlay มานานกว่า 10 ปี เป็นโรงงานที่ผลิตในเชิงอุตสาหกรรม โดยผลิตป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และของแต่งบ้าน ในประเทศแถบยุโรป และสหรัฐอเมริกา เนื่องจากงานฝังไม้ได้รับความนิยมในประเทศดังกล่าว

นางปิยะศรี กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการทำผลิตภัณฑ์ฝังไม้ เกิดขึ้นมาจากสามี ได้เคยอาศัยอยู่ในต่างประเทศ และได้เห็นงาน Wood Inlay ซึ่งในต่างประเทศได้รับความนิยมอย่างมาก มีการจัดประกวดทุกปี และราคาสูงมาก เกิดความชื่นชอบ และต้องการจะลองทำดูบ้าง ซึ่งเชื่อว่าถ้าได้เรียนรู้ตนเองจะทำได้ดีกว่า และได้มีโอกาสไปศึกษาและเรียนรู้การทำ Wood Inlay และเดินทางกลับมาเมืองไทย ได้มาฝึกแรงงานไทย และเปิดโรงงานทำงานฝังไม้ ส่งต่างประเทศ

ภาพนี้ เอาใจนักเล่นกอล์ฟ

ทั้งนี้ แม้ว่าในต่างประเทศ จะทำกันมานาน และมีเครื่องจักร และช่างที่ชำนาญกว่า แต่ลูกค้าต่างประเทศหันมาซื้อสินค้าจากไืน เพราะสินค้าราคาถูกกว่า และดีกว่า เนื่องจากค่าแรงบ้านเราถูก และฝีมือดีกว่า อีกทั้ง เป็นงานที่ต้องใช้ในทักษะ ในการทำสูง ดังนั้น ค่าแรงงานที่จ้างในต่างประเทศจึงสูงตามไปด้วย ส่งผลให้ชิ้นงาน Wood Inlay ในต่างประเทศมีราคาสูงมาก เมื่อมีงานที่ราคาถูกกว่า และดีกว่า จึงสั่งซื้อจากประเทศไทยแทน

รูปแบบ ต้องลูกค้าคนไทยนับถือศาสนาพุทธ

คุณค่าที่ฝีมือไม่ใช่เครื่องจักร

นางปิยะศรี กล่าวว่า การทำงาน Wood Inlay ถ้าทำด้วยเครื่องจักรทำได้แต่ไม่มีคุณค่าเท่ากับงานที่ทำด้วยมือ ซึ่งจะมีคุณค่าด้านจิตใจมากกว่า และเราใช้แรงงานที่มีฝีมือและฝึกกันมานาน ส่วนไม้ที่นำมาทำจะต้องเป็นไม้เนื้อแข็ง และงานฝังไม้ เป็นการสร้างลวดลายที่เกิดจากลายและสีของไม้ จึงต้องใช้ไม้หลากหลายสายพันธุ์มาก งานฝังไม้ เป็นงานที่ต้องใช้ความอดทนสูง เพราะผู้ทำต้องมีความละเอียดและใจเย็น แต่ผลงานที่ออกมาจะมีความทนทานและอายุการใช้งานยาวนาน

เนื่องจากต้องใช้ความสวยงามของลายและสีไม้ ทำให้ต้องใช้ไม้หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งไม้เนื้อแข็งที่ได้จะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก และมีมากมายหลายสิบสายพันธุ์ และไม้ในเมืองไทย ถ้าเป็นไม้เนื้อแข็งส่วนใหญ่จะเป็นไม้อนุรักษ์ ขึ้นทะเบียนกรมป่าไม้เป็นไม้หายาก ไม่อนุญาต ให้ตัด ทำให้ต้องใช้ไม้นำเข้าจากต่างประเทศ

แบบที่มาจากต้นตำรับตะวันตก

รูปแบบตามลูกค้าต้องการ

ส่วนรูปแบบของงาน Wood Inlay ส่วนหนึ่งลูกค้าระบุความต้องการมา และทำตามแบบ จะเห็นได้ว่า หลายแบบเป็นแบบต่างประเทศ ในระยะหลังมีการพัฒนารูปแบบที่เป็นไทยเพื่อเปิดตลาดภายในประเทศ อย่าง รูปพระพุทธรูป เป็นต้น ส่วนลายที่นิยมในต่างประเทศ มีลายวิคตอเรียสไตล์ และลายหลุยส์ การทำตลาดในแต่ละที่ มีปัญหาว่าไม่รู้ความต้องการของลูกค้า ที่ผ่านมาจะทำตามแบบที่โรงงานต้องการ แต่พอมาทำตลาดเอง จึงมีแบบที่หลากหลาย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า

สำหรับงาน Wood Inlay ส่วนใหญ่จะนำมาทำ ตกแต่งโต๊ะ ตกแต่งประตู หรือทำงานชิ้นเล็ก เช่น ตกแต่งกล่องไม้ และใส่กรอบเป็นรูปติดฝาผนัง ลูกค้าคนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักงาน Wood Inlay จากการเดินทางไปต่างประเทศ แต่คนไทยยังไม่ค่อยนิยมมากนัก คนไทยจะรู้จักและนิยมงานฝังมุกมากกว่า

ภาพนี้ แบบที่มาจากตะวันตก
ขาดแรงงานทักษะ อดทน

“ปัญหาของการทำงาน Wood Inlay ของเรา จะเป็นมีปัญหาเรื่องของแรงงาน เพราะปัจจุบัน ผู้คนจะย่อท้อต่อความยากลำบาก มักจะไปทำงานที่สบายกว่า ไม่ต้องใช้ทักษะ ไม่ต้องใช้ความเพียร คนจะคิดว่าทำงานง่าย และได้เงินดีกว่า ไม่ยอมหัดทำงานยาก และสุดท้ายต้องตกงาน เพราะทุกคนอยู่ในกลุ่มแรงงานที่หาจากที่ไหนก็ได้ อยากให้แรงงานไทย ฝึกการทำงานที่ต้องใช้ทักษะและความอดทน เพื่อจะได้ไม่ต้องตกงาน ซึ่งปัญหาแรงงานเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราไม่มีคู่แข่งมากนัก เพราะหาแรงงานไม่ได้”

อย่างไรก็ตาม มีแรงงานที่ฝึกจากเราไปและทำงานขายเอง แต่ไม่ใช่คู่แข่งทำจำนวนน้อย และตลาดก็ยังเปิดกว้างอีกมาก ปัญหาอีกประการของการทำงาน Wood Inlay คือ ปัญหาเรื่องของวัตถุดิบ ซึ่งมีราคาเพิ่มขึ้นเรื่อย การซื้อไม้มาทำจะซื้อเข้ามาเท่าที่ต้องการจะผลิต ส่วนราคาจะขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ และค่าแรงงาน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

shared items Me