Modern Style

รูปแบบของห้องน้ำในรอบห้าทศวรรษที่ผ่านมานั้น มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ไม่มากนัก เนื่องจากห้องน้ำในยุคดังกล่าวไม่ได้ยึดแนวทางยุคสมัยเหมือนงานศิลปะ ตกแต่ง และงานสถาปัตยกรรมตามที่เป็นอยู่ ดังนั้นเราจึงเห็นรูปแบบห้องน้ำแบบหลุยส์ แบบญี่ปุ่น แบบอังกฤษ หรือสเปน ได้น้อยครั้งมาก แต่จะเห็นรูปแบบที่เป็นร่วมสมัยที่ไม่ได้เน้นรูปลักษณ์ตามยุคของศิลปะอย่างเด่นชัด ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า ศิลปะการออกแบบ และตกแต่งห้องน้ำนั้น มีอยู่ 2 ลักษณะใหญ่ คือ แบบร่วมสมัย ( Contemporary) และแบบชนบท (Country) แบบร่วมสมัยก็คือ ห้องน้ำทั่วไปที่เราเห็นตามบ้าน และที่อยู่ในเกณฑ์สวยงามหรูตามโรงแรมชั้นหนึ่งทั้งหลาย ส่วนแบบชนบทนั้นจะพบเห็นตามบ้านพักตากอากาศทั้งหลายนั่นเอง ซึ่งได้กล่าวถึงไปแล้ว

ปัจจุบันแนวโน้มในการออกแบบตกแต่งห้องน้ำได้พัฒนาไปมาก โดยเฉพาะการให้ความสำคัญในการวางผังตกแต่ง หากเป็นห้องน้ำในเทอืง ในเขตชุมชน ก็จะมีรูปลักษณ์ร่วมสมัย และที่กำลังมีบทบาทมากขึ้น คือ แบบสมัยใหม่ ซึ่งเราเริ่มได้อิทธิพลจากต่างประเทศ จากแนวคิดของมัณฑนากรชั้นนำทั้งหลายในบ้านเราเองมัณฑนากรเริ่มมีโอกาสและมีบทบาทที่จะเสนอแนวคิดห้องน้ำใหม่ออกมา โดยเฉพาะรูปแบบของการจัดผัง การกำหนดองค์ประกอบของการบุพื้นผิวในแง่ของการตกแต่ง และแม้กระทั่งสุขภัณฑ์ ก็มีการเปลี่ยนรูปโฉมไป แนวความคิดแบบสมัยใหม่นั้นมักจะเน้นความเฉียบคมของเส้นสายที่เป็นเรขาคณิต (ตรงข้ามกับรูปทรงธรรมชาติ) เน้นรูปทรงและสีสันลัดเจน โดยเฉพาะสุขภัณฑ์พวกอ่างล้างหน้านั้นได้เปลี่ยนแนวคิดไป โดยทำเป็นอ่างแก้วไม้ หรือสเตนเลสรูปครึ่งทรงกลม หรือรูปฝาชีหงาย หรือแล้วแต่จะออกแบบ อุปกรณืก๊อกน้ำ ท่อน้ำก็ออกแบบให้มีความเฉียบบาง รูปทรง เส้นสายแบบเรขาคณิต โดยภาพรวมแล้วยอมรับว่า สวยงาม เตะตา กระชากใจ อย่างเหลือหลาย แต่ก็พบอีกเช่นกันว่า รูปลักษณ์อย่างนี้ดูดีมีความบอบบาง และต้องใช้อย่างระมัดระวังพิถีพิถนและต้องทำความสะอาดบ่อย การออกแบบในรูปลักษณืสมัยใหม่ อย่างนี้จะเน้นการใช้วัสดุก่อสร้างสำเร็จรูปที่แปรสภาพมาแล้วเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ เหล็ก กระจก สเตนเลส อลูมิเนียม หินแกรนิต หินอ่อน กระเบื้องหลากชนิด และไม้เทียม ไม้แปรรูป

ในเรื่องสีสันนั้น มักจะใช้สีในโทนต่างๆ ทั้งโทนร้อน โทนเย็น มากว่าจะใช้สีในโทนธรรมชาติที่เรียกว่า Earth Tone แต่เท่าที่ปรากฎมักจะเลือกใช้สิอ่อนในโทนเย็น เช่น ขา มเทา อมฟ้า เขียวอ่อน และตัดด้วยสีเข้มต่างๆ

การวางผังห้องน้ำในรูปแบบอย่างนี้มักจะกำหนดส่วนใช้สอยต่างๆ ชัดเจน ทั้งส่วนแห้ง ส่วนเปียก ด้วยการทำระดับพื้นที่แตกต่างกัน การกั้นผนังกระจก ผนังก่ออิฐ ปูกระเบื้อง หรือหินแปรรูป

บางครั้งหรือหลายครัว เราจะรู้สึกว่าการออกแบบห้องน้ำแบบสมัยใหม่นั้นจะทำได้ง่าย เพียงแต่กำหนดผังพื้น กำหนดแนวผนังด้วยเส้นสายเรขาคณิต ใช้สีง่ายๆ แต่หลังจากที่ได้ทำดังนั้นแล้ว ภาพที่ปรากฎไม่ได้ดูดีอย่างที่คิด เพระาในความง่ายอย่างนี้จะมีความยากแฝงอยู่ เพราะเราจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการจัดองค์ประกอบทางศิลปะในเรื่องของความกลมกลืน ความแตกต่าง การสร้งจุดเด่น จุดรอง การเสริมสร้าง และการแก้ปัญหาในเรื่องความงามและารใช้สอยในพื้นที่นั้น

จากการสังเกตและตัวอย่างจากคอลัมน์ที่ผ่านมา เชื่อว่าจะช่วยให้ท่านทราบแนวทางขึ้นมาก และการออกแบบห้องน้ำในเชิงสมัยใหม่นี้ จะเป็นหนทางแรกที่ท่านจะลองทำดู

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

shared items Me